การสอบบาลี เพื่อความมั่นคงยั่งยืนแห่งพระสัทธรรม


การสอบบาลีนั้น เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้ศึกษาที่สมัครเข้าสอบบาลีได้วัดตัวเองดูว่า ตัวผู้ศึกษามีความรู้อยู่ในระดับไหน ตามเกณฑ์ของหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้
 
1. ผู้จัดสอบ ต้องยกอุเบกขาธรรมเป็นเบื้องหน้า ไม่สนใจข้อเรียกร้องขององค์กรหรือบุคคลใด จัดการสอบด้วยมาตรฐานที่สูงที่สุด ตรวจสอบได้ คนเข้าสอบกับชื่อคนสอบต้องยืนยันได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกันแน่นอน


2. ผู้ออกข้อสอบ ต้องยึดมั่นในมาตรฐานและมีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องการวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนด้านใดและจุดใด


3. กรรมการสอบ เจ้าหน้าที่ในห้องสอบ ต้องมั่นคงต่ออุเบกขาธรรม ไม่ให้ความโน้มเอียงใด ๆ มาดึงไป จนเผลอไปใบ้ บอกนัย หรือบอกคำตอบให้ผู้เข้าสอบ การปล่อยให้ลอกคำตอบ การบอกคำตอบกัน (ทั้งโดยผู้สอบหรือโดยเจ้าหน้าที่) ในห้องสอบเป็นภาพที่ทำลายความศรัทธาของบุคคลทั่วไป ทั้งยังแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้เคารพต่อหลักเกณฑ์และกติกาที่มี ไม่ได้สนใจต่อการยกย่องเชิดชูพระธรรมคืออุเบกขา


4. ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดและประเมินผลการสอบบาลีทุกระดับ ต้องไม่ใบ้ ไม่บอกนัย หรือบอกกรอบข้อสอบ (เพียงไม่กี่หน้า/กี่เรื่อง) โดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะในพิธีการใด ทั้งก่อนหรือในขณะสอบ และผู้อยู่ในกระบวนการวัดและประเมินผลสอบ ไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเก็งข้อสอบใด ๆ ด้วย
 
อย่าให้ความอยากได้ชื่อ อยากได้หน้า (ทั้งของผู้สอบหรือสำนักที่ส่งสอบ) ปกคลุมจุดมุ่งหมายที่แท้ของการเรียนบาลี จนทำให้บรรยากาศในห้องสอบ หมดความศรัทธา และจะทำให้คนทั่วไปที่ได้รู้เห็นพลอยหมดศรัทธาในการเรียนบาลีไปด้วย
 
ถ้าหากยังยินดีพอใจให้เป็นดังว่า ก็คงไม่จำเป็นต้องเรียนต้องสอนบาลีกันอะไรก็ได้ เด็กไทยเกิดมา ไปแจ้งเกิดก็ยกให้เป็นเปรียญกันทั้งประเทศไปเลย ก็ไม่ได้ผิดแปลกอะไร
 
เพื่อให้การเรียนบาลีเป็นเหตุเป็นปัจจัยสู่ความยั่งยืนมั่นคงแห่งพระสัทธรรมแล้ว สิ่งเหล่านี้ ชาวพุทธต้องร่วมกันตระหนักและลงมือปฏิบัติทันที ก่อนที่การสอบบาลีจะกลายเป็นเรื่องตลก ทำกันเป็นพิธีอะไรบางอย่าง ทำให้หมดศรัทธา สิ้นเปลืองเวลา และเปลืองงบประมาณกันเล่นเปล่า ๆ



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? ( 12 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? ( 12 kb )

เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2557 | อ่าน 6069
เขียนโดย นายธฤญเดชา ลิภา

 
ตอบคำถาม ไม่มีคำว่า "ภาษาบาลี" ในพระไตรปิฎก
2/5/2561
อ่าน 15892
 
ความสำคัญของภาษาบาลี
17/9/2559
อ่าน 39781
 
การศึกษาบาลีในประเทศไทย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน
22/8/2559
อ่าน 9407
 
ขออาราธนาเจ้าคณะจังหวัด พระสังฆาธิการทุกระดับ เปิดสอนบาลีฆราวาส ปี 2559 เป็นต้นไป
24/10/2558
อ่าน 10313
 
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานบาลีของประเทศไทย สำหรับกองบาลีสนามหลวงและมหาเถรสมาคม
21/12/2557
อ่าน 13702
 
เรื่องที่ชาวพุทธ ควรช่วยกันพิจารณา เวลาไปเยี่ยมชมสังเวชนียสถานและโบราณสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย
13/1/2559
อ่าน 5849
 
สอนบาลีอย่างไร จึงจะไม่โกรธ
17/3/2558
อ่าน 8275
 
ทำอย่างไร เมื่อสอบตกบาลี
14/3/2558
อ่าน 10809
 
100 ทำเนียบนักบาลีไทย ผู้เปี่ยมด้วยเกียรติยศอันทรงคุณค่ายิ่ง
23/1/2558
อ่าน 5745
 
ปี 2558 ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมออกแบบการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่
31/12/2557
อ่าน 5622
 
 
ทั้งหมด 35 รายการ 1 / 4
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)