นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย เปรียญ 9 ประโยค ข้าราชการบำนาญชาวราชบุรี ผู้มีความเป็นเลิศทางภาษา กาพย์เห่เรือของสยามประเทศคือตำนานอมตะของท่าน พลังศรัทธาเผยแผ่ความรู้ภาษาบาลีภาษาไทยของท่านนั้นเข้มข้นและควรแก่การคำนับ "ภาษาบาลีวันนี้" ท่านเป็นผู้เขียนและพิมพ์ขึ้นเว็บด้วยตนเองทั้งหมด
วิธีอ่านคำบาลี
 
 
1 พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับ อ่านเหมือนมีสระ อะ
ภคว อ่านว่า ภะ-คะ-วะ (ภควโต)
อรห อ่านว่า อะ-ระ-หะ (อรหโต)
ปน อ่านว่า ปะ-นะ
จ อ่านว่า จะ
 
2 พยัญชนะที่มีสระกำกับ อ่านตามสระนั้นๆ เหมือนคำไทย
อิติปิ โส อ่านว่า อิ-ติ-ปิ-โส
 
3 จุดบน เรียกว่า นิคหิต หรือ นฤคหิต
พยัญชนะที่มีจุดบน อ่านเหมือน + อัง
สํ (=ส + อัง) อ่านว่า  สัง
นํ (=น + อัง) อ่านว่า  นัง
มํ (=ม + อัง) อ่านว่า  มัง
 
4 จุดล่าง เรียกว่า พินทุ ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
4.1 หน้าตัวสะกดมีสระกำกับ อ่านตามสระนั้นๆ + ตัวสะกด
วิชฺชา(มีสระ อิ ที่ ) =วิด-ชา
ถ้าเป็น วิชชา (ไม่มีจุดล่าง) ต้องอ่าน วิ-ชะ-ชา
พุทฺธํ(มีสระ อุ ที่ ) =พุด-ทัง
ถ้าเป็น พุทธํ (ไม่มีจุดล่าง) ต้องอ่าน พุ-ทะ-ธัง
เมตฺตา(มีสระ เอ ที่ ) =เมด-ตา
ถ้าเป็น เมตตา (ไม่มีจุดล่าง) ต้องอ่าน เม-ตะ-ตา
 
4.2 หน้าตัวสะกดไม่มีสระกำกับ อ่านเหมือนมีไม้หันอากาศ
สตฺถา=สัด-ถา (ตฺ เป็นตัวสะกด หน้า ตฺ คือ ไม่มีสระกำกับ)
ธมฺโม=ธัม-โม (มฺ เป็นตัวสะกด หน้า มฺ คือ ไม่มีสระกำกับ)
สงฺโฆ=สัง-โฆ (งฺ เป็นตัวสะกด หน้า งฺ คือ ไม่มีสระกำกับ)
 
5 มีสระ และมีจุดบนด้วย
5.1มีสระ อุ และมีจุดบน อ่านเป็นเสียง อุง
พาหุํ อ่านว่า พา-หุง
กาตุํ อ่านว่า กา-ตุง
 
5.2 มีสระ อิ และมีจุดบน (เขียนคล้ายสระ อึ) อ่านเป็นเสียง อิง
อหึสก อ่านว่า อะ-หิง-สะ-กะ
 
โปรดจำ
อหึ ไม่ใช่ อะ-หึ (เสียงหัวเราะ หึ หึ) แต่เป็น อะ- หิง
 
พฺรหฺม ออกเสียง และ แผ่วนิดหนึ่ง ให้ ไปรวมกับ และ ไปรวมกับ (ลองออกเสียงช้าๆ เป็น พะ-ระ-หะ-มะ แล้วรวบให้เร็วขึ้นเป็น พระ-ห-มะ หรือจะออกเสียงเป็น พรำ-มะ ตรงๆ ก็ได้ แต่พึงเข้าใจว่าเสียงจริงๆ คือ พะ ระ หะ มะ หรือ พระ-ห-มะ)
 
ทฺว (ในคำว่า ทฺวาร, เทฺว เป็นต้น) ออกเสียง แผ่วนิดหนึ่ง ให้ รวมกับ ไม่ใช่ ทะ แต่เป็นเสียงคล้ายคำว่า ทัว
        ทฺวาร= ทัว-อา-ระ(เสียงไทยอ่านว่า ทะ-วา-ระ, ทะ-วาน)
        เทฺว= ทัว-เอ(เสียงไทยอ่านว่า ทะ-เว)
 
ตฺวา ไม่ใช่ ตะ วา แต่คล้ายคำว่า ตัวอา ออกเสียงเร็วๆ เช่น
        กตฺวา  =  กัด-ตัวอา (ไม่ใช่ กัด ตะ วา หรือ กัด-วา)
        สุตฺวา  =   สุด-ตัวอา (ไม่ใช่ สุด ตะ วา หรือ สุด-วา)
 


เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2556 | อ่าน 371689
เขียนโดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย

ทั้งหมด 3 รายการ 1 / 1
 
 
แปลยกศัพท์ธรรมบทออนไลน์ 8 ภาค สำหรับบาลีศึกษา/ประโยค 1-2
 
โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ศึกษาภาษาบาลีออนไลน์
 
เรียนบาลีเบื้องต้น ปทรูปสิทธิ อภิธานวรรณนา ในรูปแบบ pdf html และ mp3 โดยพระมหาสมปอง มุทิโต
 
เรียนภาษาบาลีกับพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ผ่าน youtube ดูเป็นตอน ๆ 1- 30 ตอน
 
รวมความรู้ไวยากรณ์บาลี กัจจายนปกรณ์ ธรรมะทั่วไป และสาระบาลีต่าง ๆ
 
สำนักเรียนดีเด่น เปิดสอนบาลีสำหรับพระภิกษุสามเณรทุกชั้น ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึง ป.ธ.9
 
วัดท่ามะโอ ลำปาง สำนักปฏิบัติธรรม และสำนักเรียนบาลีใหญ่
 
เพื่อการศึกษาพระธรรมจากคัมภีร์บาลี เรียนรู้ปทรูปสิทธิ
 
โครงการสร้างพระภิกษุสามเณรจากอินเดียกว่า 2,000 รูป เพื่อกลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาประเทศอินเดียในระยะยาว
 
วีดีโอสอนแปลบาลีธรรมบท ประโยค 1-2 โดย อ.กรภพ วัดพระเจ้าตนหลวง อธิบายง่าย เข้าใจง่าย
 
  ดูวีดีโออื่นๆ  
อาจารย์ปรีชา  แก้วทาสี
ปทรูปสิทธิ
  ดูทั้งหมด  
กัจจายนสูตร MP3
สนฺธิกณฺฑ ๑-๕
สนฺธิกณฺฑ ๒-๕
สนฺธิกณฺฑ ๓-๕
สนฺธิกณฺฑ ๔-๕
สนฺธิกณฺฑ ๕-๕
นามกณฺฑ ๑-๕
นามกณฺฑ ๒-๕
นามกณฺฑ ๓-๕
นามกณฺฑ ๔-๕
นามกณฺฑ ๕-๕
การกกณฺฑ ๑-๑
สมาสกณฺฑ ๑-๑
ตทฺธิตกณฺฑ ๑-๑
อาขฺยาตกณฺฑ ๑-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๒-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๓-๔
อาขฺยาตกณฺฑ ๔-๔
กิพฺพิธานกณฺฑ ๑-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๒-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๓-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๔-๕
กิพฺพิธานกณฺฑ ๕-๕
อุณาธิกณฺฑ ๑-๑
สุตฺตสงฺคหคาถา
กจฺจายนสุตฺตปาโฐ (รวมทุกกัณฑ์)
 
 
 

มหาบาลีวิชชาลัย วัดโมลีโลกยาราม ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2472-8147, 099-2468-986, 086-7962-617, 089-6601-464
E-mail : พัฒนาเว็บไซต์โดย สถาบันเทคโนโลยีพุทธบริษัท Developed by Buddhist Institute of Technology Thailand (BIT THAILAND)